1/12/2556

SSD VS Harddisk ไกด์เบื้องต้นสำหรับคนอยากได้ SSD


ตอนนี้การพยายามเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องโน้ตบุ๊กด้วยการเปลี่ยนไปใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD กำลังเป็นที่นิยมแล้ว วันนี้เราจะมาลองฮาร์ดดิสก์ระดับสูงๆ กันว่า ระหว่างฮาร์ดดิสก์ตัวเร็วๆ แบบธรรมดากับ SSD ใครจะอยู่ใครจะไป แบบไหนดีที่สุดสำหรับเครื่องของคุณ
01 SSD VS Harddisk
ในการรีวิวคราวนี้เรามีฮาร์ดดิสก์ 3 รุ่นสำหรับแต่ละประเภท รายนามมีดังนี้
Western Digital Scorpio Black 500GB 7200rpm (WD5000BEKT)
Seagate Momentus XT 500GB (ST95005620AS)
Fujitsu 320GB 5400rpm (MHZ2320BH-G2)
OCZ Agility 2 120GB (OCZSSD2-2AGTE120G)
OCZ Vertex Limited Edition 50GB (OCZSSD2-1VTXLE50G)
Crucial Real SSD C300 64GB (CTFDDAC064MAG-1G1)
ทางด้าน Western Digital เอาเวลาไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ 500 GB 7200 rpm จนได้ Scorpio Black ลองดูว่าคุ้มเวลาที่รอไหม ตัวต่อไป Momentus XT ของ Seagate ทำงานแบบ Hybrid เพราะมี SSD 4 GB มาทำเป็นแคช เพื่อการทดสอบว่ามันทำงานดีจริงไหม เราจึงเอา Fujitsu MHZ2320BH-G2 มาเปรียบเทียบ
10 SSD VS Harddisk Sandforce
ลองดูด้าน SSD ชื่อเสียงจะตกอยู่กับ Intel แน่นอน เพราะมีตัวควบคุม Sandforce ซึ่งบริษัทดังๆ เอาไปทำ SSD กันหมด ดังนั้น เราจะทดสอบ Agility 2 และ Vertex Limited Edition ของ OCZ ส่วน Crucial C300 เป็น SATAIII (6.0 GB/s) ตัวแรก แต่สามารถใช้กับ SATAII (3.0 GB/s) ได้
การทดสอบพวกตัวเก็บข้อมูลมักจะทดสอบกันเป็นคะแนนสังเคราะห์ ซึ่งมักจะไม่มีประโยชน์อะไรกับคนที่ใช้งานประจำวัน ดังนั้น ในการทดสอบนี้ เราจะใช้โปรแกรมธรรมดาๆ ทดสอบประสิทธิภาพ โดยจะติดตั้งใน HP Pavilion dm3 ขนาด 13 นิ้ว
11 SSD VS Harddisk
ประสิทธิภาพในการติดตั้ง
งานที่ช้าและน่าเบื่อสุดๆ สำหรับคนใช้คอมพิวเตอร์ก็คือการลงโปรแกรม เราจะลองดูว่า SSD จะโหลดโปรแกรมได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์จานหมุนเท่าไร เราจะทดสอบด้วยการลง Windows 7 Home Premium กันแบบสดๆ ใหม่ๆ และลงโปรแกรมที่ใช้ เช่น แอนตี้ไวรัส, Microsoft Office 2007 และ Adobe Photoshop CS4
02 SSD VS Harddisk Installation
กราฟที่เห็นเป็นเวลาที่ใช้ในการลง Windows, Microsoft Office 2007 และ Adobe Photoshop CS4 ด้วยกัน ฮาร์ดดิสก์แบบ 7200 rpm ใช้เวลามากกว่า 3 นาที ตัวที่ช้าที่สุดก็คือ Fujitsu 5400 rpm
ประสิทธิภาพในการบูต Windows
03 SSD VS Harddisk Booting Windows 7
จากกราฟที่เห็น เราได้ทำการทดสอบด้วยโปรแกรม Boot Timer ผลการวัดทำให้เราเห็นว่า พวก SSD สามารถบูตได้ในเวลา 22 วินาที Seagate XT ก็เร็วเช่นกันที่ 27 วินาที แต่บางครั้งมันก็สามารถบูตด้วยเวลา 24 วินาทีได้เช่นกัน
ความเร็วในการคัดลอกไฟล์
เพื่อให้ได้ผลที่แม่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราจะทำการคัดลอก 2 โฟลเดอร์จากพาร์ติชั่นเดียวกัน โดยโฟลเดอร์แรกจะใส่ไฟล์และรูปภาพเอาไว้เยอะๆ (เน้นจำนวน) ส่วนโฟล์เดอร์ที่สองจะเป็นไฟล์หนัง HD ขนาดใหญ่ (เน้นขนาด) รวมกันได้ทั้งหมด 11 GB ในการทดสอบ
04 SSD VS Harddisk File Copy
OCZ Agility ได้เปรียบจากการที่มีชาแนลมากกว่าชาวบ้าน สามารถคัดลอกไฟล์ทั้งหมดได้ในเวลา 77 วินาที หรือ 143 MB/s ส่วน Seagate ก็สามารถจัดการ Scorpio Black ได้ ถึงแม้ว่าไฟล์จะไม่ได้รับการแคชเก็บไว้ ส่วน Fujitsu 5400 rpm ช้าที่สุดตามระเบียบ
05 SSD VS Harddisk Opening Photoshop & Image
ต่อไปเราจะเปิดไฟล์ TIFF ใหญ่ โดยยังไม่ได้เปิด Photoshop ทิ้งไว้ นี่เป็นการทดสอบทั้งเวลาในการเปิดรูปและตัวโปรแกรม ซึ่งผลที่ออกมา SSD ก็ต้องเป็นผู้นำอย่างแน่นอน กราฟที่ออกมาดูคล้ายกับการทดสอบอื่นๆ ที่ Seagate จะได้เปรียบ Scorpio Black และมีน้องเล็กปิดท้าย
ส่วนการทดสอบสุดท้าย เราจะนำทั้ง 4 โปรแกรมไปวางไว้ในโฟลเดอร์ Startup และนำช็อตคัทของไฟล์วิดีโอ 720p ซึ่งจะถูกเปิดใน MPC-HC ทำให้โน้ตบุ๊กของเราต้องเปิดโปรแกรมพร้อมกัน 5 โปรแกรม และต้องเล่นไฟล์วิดีโอไปด้วย โดยการทดสอบจะเริ่มจากเวลาที่กดปุ่ม Restart และนับจนเวลาที่ไฟล์วิดีโอเริ่มเล่น
06 SSD VS Harddisk Reboot & 5 Applications
ผลการทดสอบไม่ได้แตกต่างอะไรจากการทดสอบแบบอื่นๆ เราจะเห็นได้ว่าพวก SSD ต้องนำมาก่อน ตามด้วย Seagate และ Black Scorpio ปิดท้ายด้วย Fujitsu
ประสิทธิภาพในการทำงานพร้อมกัน
การทำงานพร้อมกันหลายๆ โปรแกรมเป็นเรื่องสามัญของโลกทุกวันนี้ไปแล้ว เรามีแอนตี้ไวรัสทำงานอยู่ ขณะที่เราต้องการให้เครื่องไม่เสียความเร็วในการประมวลผลไปมากนัก ซึ่งฮาร์ดดิสก์เป็นตัวแปรที่สำคัญในเรื่องนี้
การทดสอบแรก เราจะสแกนไฟล์ในโฟลเดอร์ขนาดยักษ์ด้วย Avast และเราจะคัดลอกไฟล์และแตกไฟล์ ZIP ด้วยโปรแกรม 7-Zip ไปพร้อมๆ กัน ส่วนการทดสอบที่สองเราจะเปิดภาพขนาดยักษ์อีกเช่นกันด้วย Photoshop ขนาดที่แอนตี้ไวรัสทำงานไปด้วย
07 SSD VS Harddisk Multi Tasking Performance
Sandforce ของ Intel โชว์เพาว์อีกแล้ว ตัว Crucial C300 แพ้ OCZ ในการทดสอบ แสดงว่ามันไม่เหมาะหากจะนำมาทำงานหนักๆ พร้อมกันแบบนี้ ส่วนกราฟที่เหลือก็ยังคงเดิม
อายุของแบตเตอรี่
ฮาร์ดดิสก์ที่เราใส่เข้าไปมีผลทำให้กินไฟอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเครื่องเล็กๆ อย่าง HP Pavilion dm3 เราจะวัดด้วยโปรแกรม Batterybar 3.4.1 และเล่นเว็บเป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยเปิด Wi-Fi และตั้งความสว่างจออยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ Windows ถูกตั้งเป็นโหมด Power Saver
08 SSD VS Harddisk Battery Life
SSD ให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ดี Vertex และ C300 ให้ไฟใช้ได้นานกว่า Momentus XT เกือบครึ่งชั่วโมง ส่วน OCZ Agility กลับกินไฟมากกว่า ไม่ว่าเราจะลองทดสอบซ้ำแล้วก็ตาม ส่วนฮาร์ดดิสก์ที่หมุนช้าๆ ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่กินไฟ เพราะ Fujitsu อยู่ในอันดับสุดท้ายเหมือนเดิม
เสียงรบกวนและการสั่นสะเทือน
จุดที่ดีที่สุดของ SSD ก็คือ มันแทบไม่มีปัญหาเหล่านี้เลย Seagate XT ก็ไม่ได้เงียบไปซะทั้งหมด ที่จริงมันก็ไม่ได้แตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ความเร็วเท่ากันทั่วไป มันมีแรงสั่นสะเทือนกับผิวอะลูมิเนียมนิดหน่อย แต่ไม่น่ารำคาญ ส่วน Western Digital ออกจะเงียบกว่าของ Seagate รวมถึงแรงสั่นสะเทือนด้วย แต่ความแตกต่างทั้งหมดก็ไม่มากจนทำให้เป็นปัญหาสำหรับคนใช้
สรุปผล
09 SSD VS Harddisk HP Pavilion dm3
Crucial C300 ขนาด 64 GB ราคา 4,700 บาท ส่วน Agility 2 ขนาด 60GB ราคา 5,300 บาท ทำให้การจะเริ่มมองหา SSD สำหรับการใช้งานทั่วไปเป็นเรื่องสมเหตุสมผลมากขึ้น พวก SSD ที่ใช้ Sandforce เป็นตัวควบคุมทำประสิทธิภาพได้ดีในทุกการทดสอบ OCZ Agility 2 และ OCZ Vertex มีความเร็วสูง แม้จะทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกับ ส่วน Crucial C300 อาจจะเสียเปรียบเรื่องนี้บ้างเล็กน้อย
สำหรับ Seagate Momentus XT การมีแคชแม้จะแค่ 4 GB ซึ่งอาจจะน้อยสำหรับใครบางคน แต่มันก็ทำงานได้เหมือนๆ กับ SSD ในหลายๆ การทดสอบ สำหรับคนที่ไม่อยากจะจ่ายเงิน แต่อยากได้ปริมาณพื้นที่เยอะๆ ตัวนี้น่าสนมากๆ 500 GB ราคาอยู่ที่ 4,100 บาท ได้ราคาที่ดีกว่า SSD เยอะ
สำหรับ Western Digital Scorpio Black อาจจะทำให้หลายคนผิดหวังกับระยะเวลาการพัฒนาที่มาช้าไปนิด เพราะต้องบอกกว่าสูง Seagate แทบจะไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่แคชในการทำงาน ส่วนที่จะทำให้เราอยากซื้อมันก็คือราคาที่ 2,600 บาท ซึ่งมันก็คุ้มนะ ถ้าจะซื้อมาเปลี่ยนใหม่ เพราะยังไงของเก่าก็เอาไปต่อกล่องเอาไว้พกพาได้ครับ
ที่มา : NotebookReview
12 SSD VS Harddisk Samsung

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น