ในช่วงยุค 80’ นั้น Apple ที่เรารู้จักกันดีในทุกวันนี้ ได้ทำงานร่วมกันกับ Frogdesign แบบใกล้ชิด สำหรับการออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นต่างๆของ Apple ในช่วงนั้น ตั้งแต่เครื่อง Apple II ไปจนถึงเครื่องตระกูล Macintosh จนถึงวันนี้ ผู้ก่อตั้ง Frogdesign นามว่า Hartmut Esslinger ก็ได้ให้ข้อมูลว่าในตอนนั้นใช้คอนเซ็ปท์ในการออกแบบต่างๆว่าง Design Forward หรือก็คือการออกแบบไปข้างหน้า และยังเผยอีกว่าการออกแบบของเครื่อง หรือแท็บเล็ตต่างๆ ก็ไม่ได้ถูกนำเอามาใช้ให้เห็นตลาดอยู่หลายอันเลยทีเดียว แต่หลายตัวเหล่านั้น เรียกได้ว่าทำออกมาเหมาะสมกับการนำเอาไปใช้ในบ้านเป็นอย่างยิ่ง ดูได้จากความสำเร็จของเครื่องตระกูลต่างๆของ Apple ได้
ผลงานชิ้นแรกที่ Esslinger เอามาให้ดูนั้น เป็นเครื่องสไลต์แท็บเล็ต ชื่อว่า “macphone” ทำในช่วงปี 1984 ที่มีการจับนำเอาหูโทรศัพท์ปกติธรรมดาทั่วไป มาพ่วงเข้ากับแท่นที่เป็นหน้าจอสำหรับใช้ปากกาสไตลัสเขียนลงไปได้ ซึ่งถ้าเห็นแล้วก็น่าจะรู้ได้เลยว่านี่ก็เครื่องแท็บเล็ตตัวแรกของ Apple ที่ชื่อว่ Newton แต่จับเอามาทำใหม่ให้ใหญ่กว่าแล้วพ่วงกับการเป็นโทรศัพท์บ้านเข้าไปนั่นเอง ตัวต่อมาก็ยังมี “tablet mac” จากปี 1982 ที่เป็นรูปทรงเหมือนเครื่องแท็บเล็ตสมัยนี้เลย แต่จะมีความหนาอยู่หน่อย แล้วก็สามารถพ่วงกับคีย์บอร์ดแบบมีสายได้ และรองรับการต่อเข้ากับไดรฟ์ floppy disk ด้วย ทำให้เห็นได้ชัดว่า Apple ตั้งใจจะทำเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแท็บเล็ตมานานมาก ก่อนที่จะมีเครื่อง iPad ให้เราได้เห็นในปี 2010 ซะด้วยซ้ำ
นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Sony อีกด้วย ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นบริษัทที่มีการออกแบบโดดเด่นในยุคนั้นอีกรายด้วยเช่นกัน พร้อมกับยังมีเครื่องอีกตัวที่มีดีไซน์คล้ายกัน โดยชื่อของมันก็คือ “baby mac” จากปี 1985 ที่เรียกได้ว่าเห็นแล้วก็เหมือนกับคอนเซ็ปท์ของเครื่อง iMac ทุกประการ ตั้งแต่ขาตั้งของตัวเครื่องที่ปรับมุมองศาเงยขึ้นลงได้ พร้อมกับแผงคีย์บอร์ดที่ได้รับการออกแบบให้บางเป็นพิเศษสำหรับในยุคนั้น ยังไม่หมดเท่านั้น ยังมีเครื่องระดับ workstation ที่สามารถแยกหน้าจอได้ออกมาเป็น 2 หน้าจอ และมีตัวเครื่องลักษะเป็นเหมือนทรงแท่นตรงกลางระหว่างทั้ง 2 หน้าจอ
ทั้งหมดนี้ก็ทำให้เห็นชัดเจน ว่านี่ไม่ใช่เพียงแค่การดีไซน์สำหรับสินค้าของ Apple เท่านั้น แต่มันเป็นการวางรากฐานเทคโนโลยี และการออกแบบของ Apple ให้สามารถนำเอามาสานต่อได้ในภายหลัง จนประสบความสำเร็จเหมือนอย่างที่เราได้เห็นทุกวันนี้
ที่มา: Tech Crunch
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น